ความรู้และการออกแบบแม่พิมพ์รีดอลูมิเนียม

อลูมิเนียม (Aluminium)

อลูมิเนียม(Aluminium) ถือได้ว่าเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก อลูมิเนียมมีคุณสมบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ได้แก่ ความสามารถในการทนต่อความร้อน การกัดกร่อน และทนต่อการแตกหัก เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาอีกทั้งยังสามารถสะท้อนแสงและความร้อนได้ดี ส่วนมากถูกนำไปใช้งานตกแต่งงานก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น การทำฝ้า ประตู ราวกั้น หน้าต่างและ โครงสร้างต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมนั้นใช้สาหรับผลิตอลูมิเนียมผสม และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม          ส่วนภาคครัวเรือนอลูมิเนียมได้ถูกนำมาใช้งานทดแทนการใช้ไม้ สำหรับงานตกแต่งบ้านและงานก่อสร้าง ข้อดีบางประการของอลูมิเนียมคือ ดูดี, ง่ายต่อการผลิต, ต่อต้านการกัดกร่อนได้ดี, ความหนาแน่นต่ำ, อัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง และความเหนียวที่ต้านการแตกหักสูง ด้วยคุณสมบัติ เหล่านี้ อลูมิเนียมจึงเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการทำโครงสร้าง ที่ใช้ในการค้าขาย และอุปกรณ์ทางการทหาร เมื่อสัมผัสกับอากาศ จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆเรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ อยู่ที่ชั้นผิวของอลูมิเนียม ซึ่งชั้นผิวนี้จะสามารถป้องกันการกัดกร่อน และกรดต่างๆได้ แต่สามารถป้องกัน อัลคาลิส ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นอลูมิเนียมบริสุทธิ์ จะมีค่าแรงดึงไม่สูงนัก แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มธาตุ บางชนิดเข้าไปเช่น แม็กนีเซียม, ซิลิคอน, ทองแดง และแมงกานีส สามารถเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรง ให้กับอลูมิเนียมได้ …

อลูมิเนียม (Aluminium) Read More »

การควบคุมการไหลด้วยพื้นที่ขึ้นรูป (Bearing control)

ความรู้ทั่วไป อัตราส่วนแบริ่ง เป็นค่าเฉลี่ยระดับพื้นที่ขึ้นรูป มีหน้าที่ดังนี้ ควบคุมการไหลของมวลเนื้ออลูมิเนียมให้ทุกส่วนไหลออกเสมอกัน ควบคุมทิศทางการไหลของเส้น ควบคุมความยาวเส้นให้แต่ละเส้นยาวใกล้เคียงกัน เป็นตัวกำหนดให้เกิแรงดันมากหรือน้อยตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบสร้าง  โดยการเพิ่มหรือลดอัตราส่วนแบริ่ง (Bearing Ratio) การกำหนดค่าการไหลในพื้นที่ขึ้นรูป (Bearing) พื้นที่แบริ่งถูกสร้างให้มีความสูง-ต่ำเพราะส่วนที่สูงจะไปชะลอการไหลส่วนที่ต่ำก็จะได้ไหลตามทัน มีหลักการ ดังนี้ การกำหนด Bearing ถ้ารูปเป็นแนวยาว แบ่งเป็น 5 ระดับ ลักษณะขั้นบันใด ๆ ละ 1 มิล. กว้าง 10 มิล. ถ้ารูปยาวประมาณ 80 มิล. แบ่งเป็น 5 ระดับ ขั้นละ ๆ 0.8 มิล. กว้าง 8 มิล. ถ้ารูปยาวประมาณ 60 มิล. แบ่งเป็น 4 ระดับ ขั้นละ ๆ 0.7 มิล. กว้าง 8 มิล. …

การควบคุมการไหลด้วยพื้นที่ขึ้นรูป (Bearing control) Read More »

การกำหนดค่าการไหลของอลูมิเนียมหน้าตัด

ความรู้ทั่วไป   ลักษณะการไหลของอลูมิเนียมในกระบอกอัด       ลักษณะการไหลของมวลอลูมิเนียมจากกระบอกอัดผ่านแม่พิมพ์     แสดงการไหลต่อเนื่องจนสิ้นสุดแท่งรีด ความกว้างจากขอบถึงศูนย์กลางพิมพ์ ความต่างการไหลของมวลอลูมิเนียม/วินาที เวลาในการรีด/แท่ง 60 วินาที เวลาในการรีด/แท่ง 120 วินาที 10 mm. 1mm. 60 mm. 120 mm. 20 mm. 2 mm. 120 mm. 240 mm. 30 mm. 3mm. 180 mm. 360 mm. 40 mm. 4 mm. 240 mm. 480 mm. 50 mm. 5mm. 300 mm. 600 mm. …

การกำหนดค่าการไหลของอลูมิเนียมหน้าตัด Read More »

การคำนวนค่าเผื่อการหดตัวของหน้าในการสร้างแม่พิมพ์รีดอลูมีเนียม

ความรู้ทั่วไป     (รูปทรงแบบบาง) ความกว้างเพิ่ม1% ความหนาเพิ่ม7%       (รูปทรงแบนหนา) ความกว้างเพิ่ม1% ความหนาเพิ่ม10%     (รูปทรงผืนธง-สาม-สี่-ห้า-หก-แปดเหลี่ยม-กลม) เพิ่ม4%     (รูปทรงท่อกลม)ความโตเพิ่ม1%+10% ของความหนา     (รูปทรงกล่อง)ความโตเพิ่ม1%+10%ขิงความหนา  

การคำนวนค่าเผื่อการหดตัวของหน้าตัดรูปประพรรณในการสร้างแม่พิมพ์รีดอลูมีเนียม

ความรู้ทั่วไป องค์ประกอบร่วมของการรีดที่มีผลทำให้ค่าเผื่อการหดถูกต้องตามการคำนวน ดังนี้ กำหนดอุณหภูมิ Billet ให้เหมาะสมกับแม่พิมพ์ กำหนดแรงดันPressure ให้เหมาะสมกับแม่พิมพ์ กำหนดแรงดึงPuller(เครื่องจับจูงเส้น)ให้เหมาะสมกับความเร็วการไหลของเส้น

การคำนวนการรับแรงของแม่พิมพ์

ความรู้ทั่วไป การคำนวนความหนา Die plate Factor (F) เป็นค่าตัวแปรจากผลของแรงดัน       ขนาดเครื่อง ค่า (F) 1,800 1.55 1,500 1.25 1,200 1.1 880 0.95 660 0.85     Release factor (Rf) เป็นค่าผ่อนของตัวแปร  ขนาดเครื่อง ค่า(Rf) 1,800 0.085 1,500 0.09 1,200 0.095 880 0.1 660 0.11   การคำนวนความหนา Die plate Factor (F) เป็นค่าตัวแปรจากผลของแรงดัน       ขนาดเครื่อง ค่า (F) 1,800 1.55 1,500 1.25 1,200 1.1 880 …

การคำนวนการรับแรงของแม่พิมพ์ Read More »

การออกแบบจำแนกตามชื่อเรียกของลักษณะการสร้าง

ความรู้ทั่วไป Solid die control shape  เป็น Simple die ที่ขุดหน้า Die เพื่อช่วยปรับให้ Bearing ควบคุมการไหลได้ดีขึ้น ประกอบด้วย Die plate &Die backer (ขนาด Die backer จำกำหนดความหนาไว้ขนาดเดียว) Feed plate continuous เป็น Simple die มี Feed plate ทำหน้าประสานเนื้อ Section ของ Billet แท่งแรกต่อกับ แท่งสองแน่นเป็นเนื้อเดียวกันและช่วยให้การรีด การกระทำต่อเนื่องได้ Feed plate continuous shape เป็น Simple die มี Feed plate  ทำหน้าที่ช่วยปรับให้ Bearing ที่Die plate ควบคุมการไหล ได้ดีขึ้นและช่วยต่อเนื้อSection ได้ด้วยเหมือนกัน Solid …

การออกแบบจำแนกตามชื่อเรียกของลักษณะการสร้าง Read More »

ระบบการทำงานของแม่พิมพ์รีดอลูมิเนียม

ความรู้ทั่วไป การออกแบบและการคำนวนการรับแรงของแม่พิมพ์ เรียงตามประเภทแม่พิมพ์ แบ่งเป็น 3ประเภทหลัก ก.รูปทรงทั่วไปไม่มีจุดอ่อนที่ทำให้แม่พิมพ์แตกง่าย เรียกแม่พิมพ์ชนิดนี้ว่า (Simple die) ข.รูปทรงมีจุดอ่อนที่ทำให้แม่พิมพ์แตกได้ เรียกแม่พิมพ์ชนิดนี้ว่า (Semi hollow die) ค.รูปทรงมีรู เรียกแม่พิมพ์ชนิดนี้ว่า (Hollow die)

การวางแผนการออกแบบสร้างแม่พิมพ์

ความรู้ทั่วไป การออกแบบแม่พิมพ์โดยมีกฎเกณฑ์ สิบประการ ก.วางรูปทรงเฉลี่ยกลางหน้าพิมพ์(กรณีรูเดียว)   ข.วางรูปทรงให้ขาอยู่แนวระนาบ   ค.วางรูปแบบตัวเลขนาฬิกา และวางรูปแบบวงกลม   ง.วางรูปทรงห่างจากศูนย์กลางประมาณ 1ใน3ของขอบPLL.   จ.วางรูปทรงให้ส่วนที่เป็นรูอยู่ศูยน์กลาง(ยกเว้นมีปีกยาวเกิน2เท่าของส่วนรู)   ฉ.ไม่วางแผ่นทรงแบนกว้างซ้อนกัน(รูปทรงเทียบPLL.แล้วโตกว่า1/2ถือว่ากว้าง)   ช.ไม่วางรูปโดยไม่มีแบบร่างของBolster   ซ. ไม่วางรูปโดยไม่คำนึงถึง  Die backer   ฌ.ไม่ออกแบบเกินความจริงที่เครื่องจักรและเครื่องมือจะทำได้ ญ.ไม่ออกแบบจนยาวเกินชุดรับแรง (Bolster&Sub bolster)

ความพร้อมของเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สร้างแม่พิมพ์

ความรู้ทั่วไป การสร้างแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพสูงสุด เพื่อการออกแบบสร้างสมบูรณ์ ความแม่นยำของขนาด ความละเอียดของผิว อยู่ที่เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ C.N.C.MILLING MACHINE ELECTRIC DISCHARGE MACHINE (EDM) ELECTRIC WIRE CUT MACHINE (EWM)